Freight Forwarder เหมือนหรือต่างจาก Shipping อย่างไร
เลือกอ่านตามหัวข้อ |
Freight Forwarder คืออะไร
Freight Forwarder คือ ตัวแทนของผู้ส่งสินค้า หรือ หมายถึง บริษัทตัวแทนที่ทำหน้าที่เหมือน Shipping ทุกประการ แต่ไม่มีเรือเดินทะเลและตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตนเอง จึงเช่าตู้คอนเทนเนอร์มาจากบริษัทอื่นมาเพื่อรวบรวมลูกค้ารายย่อยหลายรายให้ได้เต็มตู้ ทำให้ค่าใช้จ่ายของลูกค้ารายย่อยสูงกว่า ซึ่ง ชิปปิ้ง มักเลือกขนส่งเฉพาะลูกค้ารายใหญ่
แม้ Freight Forwarder จะดูคล้าย Shipping แต่ก็มีความแตกต่างเล็กน้อย Freight Forwarder นอกจากจะขนส่งสินค้าแล้วยังจัดการใบขนส่งสินค้าให้กับด่านศุลกากรด้วย ซึ่งเป็นหน้าที่ ที่ Shipping ก็รับผิดชอบเช่นกัน
Shipping คืออะไร
Shipping (ชิปปิ้ง) หมายถึง บริษัทหรือบุคคลที่มีหน้าที่ในการจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นผ่านทางทะเบียนพาณิชย์ พิธีการศุลกากร หรือบริษัทขนส่งทางเรือเดินทะเลและเครื่องบิน เพื่อนำสินค้าเข้าหรือส่งออกไปต่างประเทศ โดยมีเอกสารที่ครบถ้วนและถูกต้อง เช่น ใบขนส่งสินค้าสำหรับการดำเนินการกับด่านศุลกากร และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า เป็นต้น
ชิปปิ้ง เป็นบริษัทที่มีเรือเดินทะเลเป็นของตนเอง ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับผู้ส่งออกเพื่อรับทราบปริมาณสินค้าที่จะขนส่ง และจะจัดสรรว่าจะเช่าตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตนเอง หรือจะรวมสินค้ากับผู้ส่งออกรายอื่นในตู้คอนเทนเนอร์เดียวกัน รวมถึงการจัดหาไปรับสินค้าจากโกดังลูกค้า นำไปเข้าตู้คอนเทนเนอร์เก็บสินค้าและรถหัวลากตู้คอนเทนเนอร์ จนส่งสินค้าไปถึงท่าเรือที่จะขนส่งไปยังปลายทางต่างๆ นอกจากนี้ บริษัท shipping ยังสามารถให้บริการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า ตามความต้องการและความสะดวกของลูกค้าได้เป็นอย่างดี เป็นกระบวนการสำคัญในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศและภูมิภาค
ข้อแตกต่าง Freight Forwarder กับ Shipping ที่เห็นได้ชัด
1) พาหนะในการขนส่ง
- Freight Forwarder ไม่มีเรือเดินทะเลหรือตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตัวเอง ซึ่งต้องเช่าจากบริษัทอื่นๆเพื่อให้บริการขนส่งสินค้า
- Shipping มีเรือเดินทะเลและตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตัวเอง ทำให้สามารถจัดการการขนส่งได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
2) ค่าใช้จ่าย
- Freight Forwarder มีค่าใช่จ่ายที่สูง เนื่องจาก นอกจากค่าธรรมเนียมและการจัดการสำหรับการให้บริการแล้ว ยังต้องเช่าเรือและตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อให้บริการลูกค้าอีกต่างหาก รวมถึงค่าบริการอื่นๆ เช่น คลังสินค้า บริษัทขนส่ง และบริษัทพิธีการศุลกากร ค่าบริการเหล่านี้จะถูกส่งต่อให้กับลูกค้า
- Shipping จะมีค่าใช่จ่ายที่ต่ำกว่า เนื่องจาก เป็นเจ้าของเรือและตู้คอนเทนเนอร์ของตนเอง ไม่จำเป็นต้องใช้บริการจากบริษัทอื่นๆ นอกจากนี้ ชิปปิ้ง มักจะขนส่งสินค้าในปริมาณมาก ซึ่งช่วยลดต้นทุนต่อหน่วยได้อีกด้วย
3) การขนส่งสินค้า
- Freight Forwarder ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้ารายย่อย ที่ต้องการขนส่งสินค้าในปริมาณที่น้อยกว่า 1 ตู้คอนเทนเนอร์
- Shipping ลูกค้าส่วนมากจะเป็นรายใหญ่ จะขนส่งสินค้าในปรมาณที่มากกว่า 1 ตู้คอนเทนเนอร์ โดยทั่วไปเป็นบริษัทหรือองค์กรใหญ่ที่มีกิจการค้าขายระหว่างประเทศ และมีความต้องการในการขนส่งสินค้าในปริมาณที่มาก
4) การให้บริการระหว่างจัดส่ง
- Freight Forwarder มักจะเป็นผู้ติดต่อหลักระหว่างลูกค้าและผู้ให้บริการขนส่ง เป็นผู้จัดการและติดตามการขนส่งสินค้าตลอดทาง แต่ไม่รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของสินค้า เนื่องจาก เรือและตู้คอนเทนเนอร์จะใช้บริการจาการเช่า ซึ่งความรับผิดชอบจะตกเป็น บริษัทที่ให้บริการขนส่งสินค้าโดยตรง
- Shipping มักจะรับผิดชอบต่อการขนส่งสินค้าโดยตรง รวมถึงความปลอดภัยและสถานะของสินค้าในระหว่างการขนส่ง เนื่องจากเป็น เรือและตู้คอนเทนเนอร์ของบริษัท อยู่ในความรับผิดชอบของ ชิปปิ้งโดยตรง
สรุป การใช้บริการ Freight Forwarder หรือ Shipping ช่วยอำนวยความสะดวกและลดภาระให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกหรือ นำเข้าสินค้า โดยไม่ต้องลงทุนซื้อหรือเช่าตู้คอนเทนเนอร์เอง นอกจากนี้ยังช่วยลดขั้นตอนและความยุ่งยากในการจัดการเอกสาร ติดต่อศุลกากร และดำเนินการขนส่งด้วยตนเอง ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการประหยัดเวลาและต้นทุน รวมถึงสามารถโฟกัสไปที่การพัฒนาธุรกิจได้อย่างเต็มที่