ประเภทคลังสินค้า (Warhouse Types)
ประเภทคลังสินค้า เรามารู้จักคำจำกัดความของคลังสินค้าก่อน
คลังเก็บสินค้า โดยทั่วไปจะทำหน้าที่จัดเก็บวัตถุดิบ หรือ สินค้าสำเร็จรูป เป็นหลัก หรือบางครั้งอาจใช้เก็บงานระหว่างการผลิต ชิ้นส่วนหรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูปบ้าง ซึ่งในการจัดเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบจำพวกนี้ จำเป็นต้องมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และไม่เกิดความเสียหายต่อสินค้าหรือวัตถุดิบที่เก็บอยู่ภายในคลังสินค้า
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ประเภทคลังสินค้าแบ่งตามลักษณะธุรกิจ
- ประเภทคลังสินค้าตามลักษณะงาน หรือ แบ่งตามลักษณะสินค้าที่เก็บรักษา
- ประเภทคลังสินค้า แบ่งตามลักษณะสินค้า
- แนะนำ คลังเก็บสินค้าให้เช่า ในราคาถูก BKK WAREHOUSE
- สาธารณูปโภค ครบวงจร
ประเภทของคลังสินค้าสามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
1. ประเภทของคลังสินค้าแบ่งตามลักษณะธุรกิจ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดดังนี้
1.1. คลังสาธารณะ (Public warehouse)
คลังสาธารณะคือ คลังที่เจ้าของธุรกิจเปิดขึ้นเพื่อรับเก็บสินค้าเป็นหลัก เป็นโกดังสินค้าแล้วเก็บค่าเช่าในการจัดเก็บสินค้า เช่น พวกคลังห้องเย็นต่างๆ ที่รับจัดเก็บปลาแช่แข็งที่มาจากเมืองนอก โดยที่โรงงานแปรรูปไม่ต้องการลงทุนสร้างคลังห้องเย็นเป็นของตัวเอง ก็จะจัดจ้างให้คลังห้องเย็นช่วยจัดเก็บให้ โดยคิดค่าจัดเก็บ เป็นต้น
ข้อดีของคลังสาธารณะ
- มีการใช้ประโยชน์ของเงินทุนมากขึ้น เนื่องจากคลังเก็บสินค้า ที่สร้างได้ให้บริการแก่ลูกค้าหลายคน
- มีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้ดีกว่า เพราะมีการให้บริการแก่ลูกค้าหลายคน
- เป็นการลดความเสี่ยงจากการว่างของคลังสินค้า
- มีการใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐศาสตร์ (Economies of scale) มากกว่า
- มีความยืดหยุ่นสูง
- มีความรู้และความเชี่ยวชาญในเรื่องการจัดเก็บและเคลื่อนย้ายมากกว่า
ข้อเสียของคลังสาธารณะ
- อาจมีปัญหาเรื่องการสื่อสารข้อมูล เพราะระบบการสื่อสารอาจมีความแตกต่างกันมาก
- อาจไม่มีการบริการพิเศษบางประเภท ซึ่งเป็นความต้องการเฉพาะด้านของตัวสินค้า
- พื้นที่อาจไม่เพียงพอในบางช่วงของความต้องการ
1.2. คลังส่วนตัว (Private warehouse)
คลังส่วนตัวคือคลังเก็บสินค้าโดยทั่วไปของบริษัทซึ่งบริษัทหลายๆแห่ง ได้สร้างคลังในพื้นที่ของตัวเอง เช่น คลังวัตถุดิบ คลังสินค้าสำเร็จรูป เป็นต้น และใช้ในการจัดเก็บวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูปของบริษัทเท่านั้น
ข้อดีของคลังส่วนตัว
- มีการควบคุมที่ทำได้ง่าย
- มีความยืดหยุ่นสูง
- มีต้นทุนต่ำกว่าในระยะยาว
- มีการใช้แรงงานที่มีประสิทธิภาพสูง
ข้อเสียของคลังส่วนตัว
- ขาดความยืดหยุ่น
- ข้อจำกัดทางด้านการเงิน
- ผลตอบแทนต่อการลงทุนต่ำ
2. ประเภทของคลังสินค้าตามลักษณะงาน หรือ แบ่งตามลักษณะสินค้าที่เก็บรักษา
คลังสินค้าชนิดนี้มีหน้าที่หลักในการเก็บรักษาสินค้าซึ่งอาจจะอยู่ในรูปวัตถุดิบหรือสินค้าสำเร็จรูป เพื่อทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของฝ่ายผลิต หรือร้านค้าตามลำดับ ดังนั้นการจัดการสินค้าประเภทนี้จะเน้นที่การรักษาสภาพสินค้า และการป้องกันการสูญหายของสินค้าเป็นสำคัญ
2.1. ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution center, DC)
ศูนย์กระจายสินค้า คือ คลังสินค้าที่ทำหน้าที่ทั้งในฐานะเป็นคลังสินค้า (Warehouse) และเป็นหน่วยเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิต (Manufacturer) กับผู้ขายปลีก (Retailers) จะเป็นผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ (Logistics Provider) ในด้านการจัดเก็บสินค้าและการจัดการขนส่งสินค้าสำเร็จรูปให้กับลูกค้าได้อย่างทันเวลาและถูกต้องตรงตามความต้องการ DC ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ให้บริการภายนอก (Outsource) หรือ Third Party Logistics Service Providers (3PL) จะทำหน้าที่รับสินค้าจากผู้ผลิตแต่ละรายมาเก็บในคลังเก็บสินค้า ของตน โดยดำเนินการบริหารจัดการในการควบคุมปริมาณด้านเทคโนโลยีในการกระจายและจัดส่งสินค้าแทนเจ้าของสินค้าหรือผู้ผลิตสินค้าโดยรับผิดชอบงานขนส่งจนสินค้าไปสู่ผู้รับ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นนี้ คือ การลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งของผู้ผลิตไปสู่ผู้ขายปลีกหรือลูกค้าแต่ละราย ผู้ผลิตสามารถขนส่งมาที่ DC เพียงแห่งเดียว โดย DC จะทำการกระจายสินค้าสู่ผู้ขายปลีกตามความถี่ที่ผู้ขายปลีกต้องการทำให้ไม่จำเป็นต้องมีที่เก็บสินค้าคงคลังจำนวนมากอีกต่อไป ค่าใช้จ่ายส่วนวัสดุคงคลังของร้านขายปลีกก็ลดลง ทำให้ต้นทุนรวมส่งผลให้มีความได้เปรียบในด้านการแข่งขันทั้งด้านราคาและความรวดเร็วในการบริการ ในปัจจุบันร้านขายปลีกหลายแห่งจึงสามารถรับประกันราคาต่ำสุดแก่ผู้บริโภคได้
2.2. ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า (Cross Dock)
ศูนย์รวบรวม และกระจายสินค้า หมายถึง คลังสินค้าใช้สำหรับในการรับสินค้า และส่งสินค้าในเวลาเดียวกัน หรือเป็นคลังสินค้าซึ่งมีการออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อใช้ในการขนถ่ายจากพาหนะหนึ่งไปสู่อีกพาหนะหนึ่ง โดย Cross Dock ส่วนใหญ่แล้วเหมาะจะเป็นสถานที่ ซึ่งมีลักษณะเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า ซึ่งจะทำหน้าที่ในการบรรจุและคัดแยกสินค้า โดย Cross Dock จะทำหน้าที่เป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างรูปแบบการขนส่ง ซึ่งอาจเป็นจากซับพายเออร์หลายราย แล้วนำมาคัดแยกรวมรวม บรรทุก เพื่อจัดส่งให้ลูกค้าแต่ละราย ซึ่งจะจัดส่งต่อให้ลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นร้านผู้ขายปลีก หรือร้านสะดวกซื้อ ซึ่งจะมี ความต้องการสินค้าย่อยที่หลากหลาย Cross Dock จะมีลักษณะคล้ายคลังสินค้าที่มี 2 ด้าน โดยด้านหนึ่งสำหรับใช้ในการรับสินค้า และอีกด้านหนึ่งใช้ในการจัดส่งสินค้า โดยสินค้าที่นำเข้ามาใน Cross Dock จะมีกระบวนการคัดแยก-บรรจุและรวบรวมสินค้า เพื่อจัดส่งไปให้กับผู้รับ ซึ่งโดยปกติแล้วนำสินค้าเข้ามาเก็บและจัดส่ง มักจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 24 ชั่วโมง ภารกิจสำคัญของ Cross Dock จะเป็นตัวกลางในการรวบรวมสินค้าให้สามารถจัดส่งได้เต็มคันรถหรือใช้พื้นที่ในคอนเทนเนอร์ให้ได้เต็มพิกัด โดย Cross Dock ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า ส่วนใหญ่แล้วศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าจะกระจายอยู่ตามภาค หรือจังหวัด ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการขนส่ง จึงมีส่วนช่วยแก้ปัญหารถบรรทุกที่ไม่มีสินค้าในเที่ยวกลับ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการขนส่งทางถนนในประเทศไทย ทั้งนี้ Cross Dock อาจจะทำหน้าที่เป็น ICD (Inland Container Depot) โดยสามารถเชื่อมโยงการขนส่งในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งทางรถไฟ ทางรถบรรทุก หรือขนส่งทางน้ำ หรือท่าเรือ-สนามบินซึ่งแสดงให้เห็นว่า Cross Dock จะมีบทบาทและเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสนับสนุนรูปแบบการขนส่ง ที่เรียกว่า Multimodal Transport
3. ประเภทของคลังสินค้า แบ่งตามลักษณะสินค้า
3.1. คลังสินค้าทั่วไป
คลังสินค้าทั่วไปทำหน้าที่เก็บสินค้าหลากหลายที่ไม่ต้องการการรักษาดูแลเป็นพิเศษหรือสินค้าประเภทต่างๆ โดยทั่วไปแล้วได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับผลิตภัณฑ์และวัสดุที่หลากหลาย เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร คลังสินค้าทั่วไปมักมีพื้นที่เปิดโล่งขนาดใหญ่พร้อมชั้นวางหรือระบบจัดเก็บเพื่อการจัดระเบียบและจัดเก็บสิ่งของได้อย่างมีประสิทธิภาพ คลังสินค้าเหล่านี้อาจมีที่ขนถ่ายสิ่งของ รถยก และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อการจัดการ หรือ เคลื่อนย้ายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยรวมแล้วคลังสินค้าทั่วไปทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บและกระจายสินค้าจนกว่าจะพร้อมจัดส่งหรือแปรรูปต่อไป
3.2. คลังสินค้าของสด
คลังสินค้าชนิดนี้ทำหน้าที่เก็บสินค้าที่เป็นของสด อาทิเช่น ผลไม้ ผัก ผลิตภัณฑ์นม เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล เป็นต้น ซึ่งสินค้าเหล่านี้ต้องการการรักษาดูแลเป็นพิเศษด้วยการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อรักษาความสดใหม่ของสินค้า มีการติดตั้งระบบทำความเย็นแบบพิเศษเพื่อรักษาความสดและคุณภาพของสินค้า มักจะมีโซนควบคุมอุณหภูมิเพื่อตอบสนองความต้องการในการจัดเก็บที่แตกต่างกัน เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ยังคงอยู่ในสภาพที่เหมาะสมก่อนที่จะกระจายไปยังผู้ค้าปลีกหรือผู้บริโภค
3.3. คลังสินค้าอันตราย
คลังสินค้าชนิดนี้ทำหน้าที่เก็บสินค้าที่เป็นอันตราย และมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้คนและสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น สารพิษ สารเคมี เชื้อเพลิง และ วัตถุระเบิด เป็นต้น (ความปลอดภัยของคลังสินค้าสำคัญอย่างไร? บทความนี้มีวิธีป้องกันที่ทุกคนก็พึงระวังได้เมื่อปฎิงานอยู่ภายใน คลังเก็บสินค้า ) สิ่งที่สำคัญที่สุดของคลังสินค้าคือการจัดการแยกประเภทของวัตถุอันตรายและการจัดเก็บให้เหมาะสมตามหลักการทางด้านวิทยาศาสตร์ของวัตถุนั้นๆ คลังเก็บสินค้า ชนิดนี้จะต้องมีผู้ควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษ ซึ่งจะต้องได้รับใบอนุญาตโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ข้อบังคับด้านความปลอดภัยที่เข้มงวดเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
3.4. คลังสินค้าพิเศษ (ควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น)
คลังสินค้าพิเศษมักจะเป็นคลังเก็บสินค้าที่มีขนาดเล็ก พบได้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อคงคุณสมบัติของสินค้าไว้ให้มีอายุยืนยาว ตัวอย่างสินค้า เช่น ยา เคมีภัณฑ์ สินค้าที่เน่าเสียง่าย วัตถุอันตราย หรือสินค้าที่มีมูลค่าสูง อาจมีการควบคุมการตั้งค่าอุณหภูมิและความชื้นอย่างเหมาะสม มาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง และการจัดการเฉพาะเพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยและความสมบูรณ์ของสินค้าที่จัดเก็บ