เทคนิคการเลือก ไฟโรงงาน ให้ได้ ค่าแสงสว่างมาตรฐาน
ไฟโรงงาน มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยของพนักงาน การพิจารณา ค่าแสงสว่างมาตรฐาน เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากเป็นสถานที่สำคัญของผู้ประกอบการธุรกิจที่ต้องมีการจัดการแสงสว่างอย่างเหมาะสม เพื่อให้เพียงพอช่วยให้พนักงานสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้อย่างชัดเจน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและหยิบสินค้า บทความนี้เราจะนำเสนอเทคนิคการใช้ไฟในโรงงานอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ค่าแสงสว่างมาตรฐานที่เหมาะสม
เลือกอ่านตามหัวข้อ |
การเลือกหลอดไฟ สำหรับคลังสินค้า
โกดังอุตสาหกรรม หรือ Warehouse คือพื้นที่อเนกประสงค์ที่ใช้สำหรับดำเนินงานและจัดเก็บวัสดุรวมถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากระบบอุตสาหกรรม โดยพื้นที่ใช้งานมีเพดานสูงประมาณ 10-20 เมตร การใช้พลังงานไฟฟ้าต่อเดือนสูงถึง 18,000-25,000 หน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้า เฉลี่ยต่อเดือน ประมาณ 72,000-100,000 บาท การเลือกหลอดไฟ ที่มีค่าแสงสว่างมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับคลังสินค้า เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดพลังงาน อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ไฟโรงงาน ที่ต้องจ่ายในทุกเดือนได้อีกด้วย หลอดไฟประเภทต่างๆ มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ประเภทของสินค้าที่จัดเก็บ ขนาดของคลังสินค้า และความสูงของชั้นวางสินค้า เทคนิคต่อไปนี้สามารถช่วยให้คุณเลือกค่าแสงสว่างที่เหมาะสมสำหรับคลังสินค้าที่กำดำเนินกิจการอยู่ของคุณได้
ประเภทของหลอดไฟที่ใช้ในคลังสินค้า
การเลือกประเภทของหลอดไฟ ค่าแสงสว่างมาตรฐาน ที่เหมาะสมช่วยให้คลังสินค้า และ โรงงาน มีการส่องสว่างที่เพียงพอ ประหยัดพลังงาน และลดค่าใช้จ่าย ไฟโรงงาน ในการบำรุงรักษาในระยะยาว
หลอดไฟใน คลังสินค้า โรงงาน มี 2 แบบ คือ แบบคายประจุความเข้มสูง (HID)และ LED หลอดไฟแบบ HID มีให้เลือกหลายแบบซึ่งแตกต่างที่อุณหภูมิสี โดย ค่าอุณหภูมิของแสง (Color Temperature) = จะหน่วยเป็ณ เคลวิน (K) นอกจากนี้ ยังมีหลอดไฟประเภทอื่นๆ ที่ใช้ในคลังสินค้า ดังนี้
1) หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent lamps)
ค่าอุณหภูมิของแสง อยู่ที่ประมาณ 3000K , 4000K และ 6500K มีทั้งแบบ สีเหลืองอมส้ม (WARMWHITE) ,ขาวเย็น (COOLWHITE) ,สีธรรมชาติ (DAYLIGHT)
หลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นหลอดไฟที่ประหยัดพลังงานและให้แสงสว่างที่กระจายตัวได้ดีสำหรับผู้ที่มีงบประมาณจำกัด เหมาะสำหรับคลังสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ที่มีเพดานสูง , ลานจอดรถในร่ม หรือ โถงทางเดิน อย่างไรก็ตาม หลอดฟลูออเรสเซนต์อาจใช้เวลานานในการติดสว่างและมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าหลอดไฟประเภทอื่นๆ
2) หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal Halide lamps)
ค่าอุณหภูมิของแสง อยู่ที่ประมาณ 4000K ถึง 4500K ซึ่ง มีสี ขาวเย็น (COOLWHITE)
หลอดเมทัลฮาไลด์ให้แสงสว่างที่สว่างและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ เหมาะสำหรับคลังสินค้าขนาดใหญ่ที่มีเพดานสูง อย่างไรก็ตาม หลอดเมทัลฮาไลด์ใช้พลังงานมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ และอาจทำให้เกิดแสงจ้าได้
3) หลอดโซเดียมแรงดันสูง (High-pressure sodium lamps)
ค่าอุณหภูมิของแสง อยู่ที่ประมาณ 2000K สีของแสงจะเป็น สีเหลืองอมส้ม (WARMWHITE)
หลอดโซเดียมแรงดันสูงให้แสงสว่างสีเหลืองที่สว่างและมีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับคลังสินค้าขนาดใหญ่ที่มีเพดานสูง พื้นที่กลางแจ้ง ถนน และพื้นที่อุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม หลอดโซเดียมแรงดันสูงมีค่าการแสดงสี (CRI) ต่ำ ซึ่งอาจทำให้มองเห็นสีได้ยาก
- หลอดฟลูออเรสเซนต์มีข้อเสียคือข้อจำกัดด้านอุณหภูมิ หลอดทำงานได้ไม่ดีในบริเวณที่อากาศเย็นหรือร้อนจัด มีผลต่ออายุการใช้งาน และอายุการใช้งานมีผลกระทบจากการเปิด/ปิดบ่อย
- หลอด LED ประหยัดพลังงาน เนื่องจากเป็นเทคโนโลยี่รุ่นใหม่ ทำให้ หลอดLED มีการติดตั้งมากขึ้น เนื่องจากอายุใช้งานได้ถึง 100,000 ชั่วโมงหลอดทนทาน ที่ทำงานได้ดีในอุณหภูมิที่เย็นกว่า แต่มีผลกระทบจากอุณหภูมิสูงประมาณ 80 องศาฟาเรนไฮต์หรือ 26.7 องศาเซลเซียส อาจทำให้แสงและชั่วโมงการทำงานลดลง เป็นหลอดไฟที่ประหยัดพลังงานมากที่สุดและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานที่สุด เหมาะสำหรับคลังสินค้าทุกขนาด หลอด LED ให้แสงสว่างที่สว่างและมีคุณภาพสูง และสามารถหรี่แสงได้เพื่อประหยัดพลังงาน
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเมื่อเลือกหลอดไฟสำหรับคลังสินค้า
- ประเภทของสินค้าที่จัดเก็บ : สินค้าที่จัดเก็บในคลังสินค้าอาจมีผลต่อประเภทของหลอดไฟที่เหมาะสม เช่น สินค้าที่ไวต่อแสงอาจต้องการหลอดไฟที่ให้แสง UV ต่ำ
- ขนาดของคลังสินค้า : ขนาดของคลังสินค้าจะกำหนดจำนวนและประเภทของหลอดไฟที่จำเป็น
- ความสูงของชั้นวางสินค้า : ความสูงของชั้นวางสินค้าจะกำหนดมุมของแสงและความสว่างที่จำเป็น
- งบประมาณ : ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษาหลอดไฟควรอยู่ในงบประมาณ
- ความต้องการด้านพลังงาน : ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของหลอดไฟเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณาเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน
โดยการพิจารณาปัจจัยเหล่านี้อย่างรอบคอบ คุณสามารถเลือกหลอดไฟที่เหมาะสมสำหรับคลังสินค้าของคุณได้ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และประหยัดพลังงาน
การเลือกอุณหภูมิและสีของแสง
แสงวอร์มไวท์ (Warm White) ซึ่งให้สีโทนอุ่น มีอุณหภูมิสีอยู่ระหว่าง 2,000 – 3,000 เคลวิน โดยแสงสีนี้จะมีลักษณะเป็นสีเหลืองเข้มถึงสีส้ม
การมองเห็นและประสิทธิภาพการทำงาน แสงควรอุณหภูมิสีระหว่าง 4000K ถึง 5000K สี ขาวเย็น (COOLWHITE) และ สีธรรมชาติ (DAYLIGHT) เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคลังสินค้า เป็นแสงสีขาวนวล เป็นแสงที่ช่วยลดอาการปวดตาและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
การเลือกประเภทการกระจายแสง
การกระจายแสง มี2 แบบ คือแบบ I หรือ V การใช้งานขึ้นอยู่กับเลย์เอาต์ของโรงงาน
- พื้นที่ที่มีชั้นวางของสูงจะต้องมีการกระจายแบบ I ซึ่งเป็นแสงที่ยาวและแคบมาก แต่มีการกระจายแสงที่ยาวออกไปตามแนวตั้งฉากกับโคมไฟ
- พื้นที่โล่ง การกระจายแสงแบบ V จะเหมาะสมกว่า รูปแบบแสงนี้เปล่งแสงเป็นวงกว้าง จึงเหมาะสำหรับการให้แสงในพื้นที่ที่ต้องการความสว่างครอบคลุมแบบ 360 องศา
การวางตำแหน่งและกระจายหลอดไฟ
การวางตำแหน่งและการกระจายหลอดไฟอย่างเหมาะสมในโรงงานช่วยให้แสงสว่างครอบคลุมทั่วพื้นที่ ลดปัญหาการสะท้อนแสงและเงามืด ทั้งนี้ควรพิจารณาระยะห่างระหว่างโคมไฟ ความสูงของการติดตั้ง และการใช้โคมไฟประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับลักษณะงานและพื้นที่การใช้งาน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความปลอดภัยของพนักงาน
1. ระยะห่างของโคมไฟ
- ระยะห่างระหว่างโคมไฟควรได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ หากวางโคมไฟไว้ใกล้กันเกินไป จะเกิดแสงสะท้อนจากโคมไฟดวงหนึ่งซ้อนทับกับอีกดวงหนึ่ง ทำให้แสงสว่างเกินไปในบางพื้นที่
- หากวางโคมไฟห่างกันเกินไป จะเกิด “การเลื่อนออก” ของแสงสว่าง ทำให้บางบริเวณมีแสงไม่เพียงพอหรือมืดเกินไป
2. การกระจายแสง
- ใช้หลอดไฟที่มีการกระจายแสงกว้าง เพื่อให้แสงครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้นและลดการเกิดเงามืด
- การใช้โคมไฟที่มีการสะท้อนแสงที่ดีจะช่วยกระจายแสงอย่างสม่ำเสมอและลดการเกิดแสงสะท้อนที่ไม่พึงประสงค์
3. ความสูงของการติดตั้ง
- ติดตั้งโคมไฟในความสูงที่เหมาะสมตามประเภทของงานและลักษณะของพื้นที่การทำงาน ความสูงที่เหมาะสมจะช่วยให้แสงกระจายได้อย่างทั่วถึงและลดการเกิดเงามืด
4. การใช้โคมไฟประเภทต่างๆ
- ใช้โคมไฟประเภทต่างๆ เช่น โคมไฟเพดาน โคมไฟตั้งพื้น หรือโคมไฟแขวนตามความเหมาะสมของพื้นที่และลักษณะการใช้งาน เพื่อให้แสงสว่างครอบคลุมทุกมุมของ คลังสินค้า และ โรงงาน
5. การควบคุมแสง
- ใช้ระบบควบคุมแสงอัตโนมัติ เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวหรือเซ็นเซอร์วัดแสง เพื่อปรับความสว่างตามความต้องการและประหยัดพลังงาน