การเดินไฟฟ้าในบ้านเรา ที่มาจากเสาไฟฟ้าจะประกอบด้วยไฟฟ้าทั้งหมด 4 เส้น 3เส้นจะเป็นเส้นไฟฟ้า ที่เรียกว่า L1,L2,L3 ส่วนเส้นที่ตือเส้น N หรือนิวตรอล เมื่อนำมาใช้งานเรียกว่าไฟฟ้า 3 เฟส ซึ่งไฟฟ้า 3 เฟสเหมาะสำหรับโรงงาน บ้านที่ใช้ไฟฟ้าแรงดันสูงคือ กำลังไฟฟ้า 380 โวลท์ ส่วนสายดินหรือสายกราวน์ จะทำการต่อหลักลงพื้นดินที่ความลึก 2.4 เมตร ส่วนไฟฟ้าที่เดินตามบ้านพักอาศัยจะเดินเพียง สายL 1เส้นและสายนิวตรอล มายังมิเตอร์ไฟ ซึ่งเรียกว่าไฟฟ้า 1 เฟส กำลังไฟฟ้า 220 โวลท์
สายดิน (Earthing System) หรือสายกราวน์ เป็นสายไฟที่ต่อจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้เป็นเส้นทางสามารถนำกระแสไฟฟ้าที่เกิดการรั่วไหลลงไปสู่ดิน เพื่อไม่ให้เป็นเป็นอันตรายต่อคน และเป็นเส้นทางให้กระแสไฟฟ้ารั่วไหลกลับไปยังหม้อแปลงไฟฟ้า ทำให้เครื่องตัดไฟทำงาน
การขอหม้อแปลงจากการไฟฟ้านครหลวงในปัจจุบัน ผู้ยื่นของไฟฟ้ารายใหม่จะต้องต่อสายดิน เพื่อความปลอดภัยสำหรับการใช้งานไฟฟ้านั่นเอง โดยปลั๊กไฟที่ใช้งานจะมี 3 ขา
สายดินที่ใช้งานทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบ 2 ส่วน ดังนี้
1 . สายนำไฟฟ้า สายดินที่ใช้ในงานไฟฟ้าโดยทั่วไป จะมีลักษณะคล้ายๆกับสายไฟ นั่นคือด้านในจะเป็นสายทองแดง และหุ้มด้วยฉนวน โดยทั่วไปสายดินจะมีสายสีเขียวสลับกับสีเหลือง
2. หลักดิน เป็นแท่งโลหะที่สามารถนำไฟฟ้าได้ ใช้ฝังลงดินเพื่อเป็นตัวเชื่อมจากสายนำไฟฟ้ากับพื้นดิน โดยทั่วไปจะทำจากทองแดง หรือเหล็กหุ้มทองแดง ซึ่งตามมาตรฐานจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. (5/8 นิ้ว) ยาว 2.4 เมตร และมีความต้านทานดิน ไม่เกิน 5 โอห์ม
การติดตั้งสายดินเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะมีผลต่อความปลอดภัย ดังนั้นจึงจะต้องติดตั้งระบบสายดินให้ถูกต้องตามมาตรฐาน จะต้องมีการติดตั้งสายดินใน 2 ส่วน ทั้งในเมนสวิตช์ และติดตั้งที่เครื่องใช้ไฟฟ้า
โดยเฉพาะหลักดินที่จะต้องตอกไปยังพื้นที่มีดินล้วนๆ ไม่ล้อมหรือกั้นด้วย หิน กรวด ทราย และแผ่นคอนกรีต เพราะวัสดุเหล่านี้จะขัดขวางการกระจายกระแสไฟฟ้าลงดิน