Freight Forwarder กับ Shipping แตกต่างกันอย่างไร ทำไมจึงสำคัญต่อการขนส่ง

ไขข้อสงสัย Freight Forwarder กับ Shipping เหมือนกันไหม

หลายคนอาจคุ้นเคยกับบริษัทชิปปิ้ง ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขนส่งสินค้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหนึ่งคำที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง นั่นคือ Freight Forwarder ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการขนส่งสินค้าเช่นกัน ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับFreight Forwarder และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Freight ForwarderกับShipping เพื่อให้เข้าใจบทบาทของแต่ละประเภทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Freight Forwarder คืออะไร

Freight Forwarder เป็นบริษัทตัวแทนด้านการขนส่งสินค้าที่มีบทบาทคล้ายกับบริษัทชิปปิ้ง แต่ไม่มีเรือเดินทะเลหรือคอนเทนเนอร์เป็นของตนเอง จึงต้องเช่าคอนเทนเนอร์จากบริษัทอื่นเพื่อนำมารวบรวมสินค้าจากลูกค้ารายย่อยหลายรายให้เต็มตู้ ส่งผลให้ต้นทุนต่อหน่วยของลูกค้ารายย่อยสูงขึ้น ในขณะที่บริษัทชิปปิ้งมักให้บริการขนส่งแก่ลูกค้ารายใหญ่เป็นหลัก

Freight Forwarder คือบริษัทตัวแทนที่ให้บริการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยไม่มีเรือหรือคอนเทนเนอร์เป็นของตนเอง

แม้ว่าFreight Forwarder และ Shipping จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างอยู่บ้าง โดยFreight Forwarder ไม่เพียงแค่ดำเนินการขนส่งสินค้าเท่านั้น แต่ยังดูแลเรื่องเอกสารสำหรับการขนส่งและดำเนินพิธีการศุลกากร ซึ่งเป็นหน้าที่ ที่ Shipping ก็ดูแลเช่นกัน

Shipping คืออะไร

Shipping (ชิปปิ้ง) หมายถึง บุคคลหรือบริษัทที่ทำหน้าที่จัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ทั้งในด้านทะเบียนพาณิชย์ พิธีการศุลกากร และการใช้บริการขนส่งทางเรือหรือเครื่องบิน เพื่อให้สินค้าสามารถนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศได้อย่างถูกต้อง โดยต้องมีเอกสารประกอบที่ครบถ้วน เช่น ใบขนส่งสินค้าและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการศุลกากรและการขนส่ง

Shipping คือ กระบวนการจัดการและดำเนินการขนส่งสินค้า ทั้งนำเข้าและส่งออก ผ่านทางเรือ เครื่องบิน หรือระบบขนส่งอื่น ๆ โดยเกี่ยวข้องกับพิธีการศุลกากรและเอกสารที่จำเป็น

ชิปปิ้งเป็นบริษัทที่มีเรือเดินทะเลของตนเอง ทำหน้าที่ประสานงานกับผู้ส่งออกเพื่อจัดการขนส่งสินค้า ตั้งแต่การเช่าหรือแบ่งใช้ตู้คอนเทนเนอร์ การรับสินค้าเข้าคลัง การขนย้ายด้วยรถหัวลาก จนถึงการส่งออกทางเรือไปยังปลายทางที่กำหนด อีกทั้งยังให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่ครบวงจรตามความต้องการของลูกค้า ถือเป็นส่วนสำคัญในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศและภูมิภาค

ข้อแตกต่าง Freight Forwarder กับ Shipping ที่เห็นได้ชัด

ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ หลายคนอาจสับสนระหว่าง Freight Forwarder และ Shipping ว่ามีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร ทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า แต่หน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบนั้นแตกต่างกันอย่างชัดเจน

ข้อแตกต่าง Freight Forwarder กับ Shipping ที่เห็นได้ชัด

1) พาหนะในการขนส่ง

  • Freight Forwarder ไม่มีเรือเดินทะเลหรือตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตัวเอง ซึ่งต้องเช่าจากบริษัทอื่นๆเพื่อให้บริการขนส่งสินค้า
  • Shipping มีเรือเดินทะเลและตู้คอนเทนเนอร์เป็นของตัวเอง ทำให้สามารถจัดการการขนส่งได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

2) ค่าใช้จ่าย

  • Freight Forwarder มีค่าใช่จ่ายที่สูง เนื่องจาก นอกจากค่าธรรมเนียมและการจัดการสำหรับการให้บริการแล้ว ยังต้องเช่าเรือและตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อให้บริการลูกค้าอีกต่างหาก รวมถึงค่าบริการอื่นๆ เช่น คลังสินค้า บริษัทขนส่ง และบริษัทพิธีการศุลกากร ค่าบริการเหล่านี้จะถูกส่งต่อให้กับลูกค้า
  • Shipping จะมีค่าใช่จ่ายที่ต่ำกว่า เนื่องจาก เป็นเจ้าของเรือและตู้คอนเทนเนอร์ของตนเอง ไม่จำเป็นต้องใช้บริการจากบริษัทอื่นๆ นอกจากนี้ ชิปปิ้ง มักจะขนส่งสินค้าในปริมาณมาก ซึ่งช่วยลดต้นทุนต่อหน่วยได้อีกด้วย

3) การขนส่งสินค้า

  • Freight Forwarder ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้ารายย่อย ที่ต้องการขนส่งสินค้าในปริมาณที่น้อยกว่า 1 ตู้คอนเทนเนอร์
  • Shipping ลูกค้าส่วนมากจะเป็นรายใหญ่ จะขนส่งสินค้าในปรมาณที่มากกว่า 1 ตู้คอนเทนเนอร์ โดยทั่วไปเป็นบริษัทหรือองค์กรใหญ่ที่มีกิจการค้าขายระหว่างประเทศ และมีความต้องการในการขนส่งสินค้าในปริมาณที่มาก

4) การให้บริการระหว่างจัดส่ง

  • Freight Forwarder มักจะเป็นผู้ติดต่อหลักระหว่างลูกค้าและผู้ให้บริการขนส่ง เป็นผู้จัดการและติดตามการขนส่งสินค้าตลอดทาง แต่ไม่รับผิดชอบต่อความปลอดภัยของสินค้า เนื่องจาก เรือและตู้คอนเทนเนอร์จะใช้บริการจาการเช่า ซึ่งความรับผิดชอบจะตกเป็น บริษัทที่ให้บริการขนส่งสินค้าโดยตรง
  • Shipping  มักจะรับผิดชอบต่อการขนส่งสินค้าโดยตรง รวมถึงความปลอดภัยและสถานะของสินค้าในระหว่างการขนส่ง เนื่องจากเป็น เรือและตู้คอนเทนเนอร์ของบริษัท อยู่ในความรับผิดชอบของ ชิปปิ้งโดยตรง

สรุป การใช้บริการFreight ForwarderหรือShippingช่วยให้การนำเข้า-ส่งออกเป็นเรื่องง่ายขึ้น โดยลดภาระด้านเอกสาร ศุลกากร และการขนส่ง ผู้ประกอบการไม่ต้องลงทุนซื้อหรือเช่าตู้คอนเทนเนอร์เอง ประหยัดทั้งเวลาและต้นทุน พร้อมโฟกัสที่การพัฒนาธุรกิจได้อย่างเต็มที่


โกดังเก็บของ เก็บสินค้า ให้เช่าในราคาถูก ราคารวมภาษีทุกอย่าง ทำให้สามารถลดต้นทุนของลูกค้าได้

ยูนิตว่าง พร้อมให้เช่า คลิ๊กดูโครงการได้ที่นี่

ที่สำคัญโกดังให้เช่า ตั้งอยู่ในทำเลทองหรือสนใจสอบถาม โกดังเก็บสินค้าของ bkkwarehouse

Hotline : 089-768-5205 / 063-829-6219  Telephone : 0-2394-5409

LINE ID : @bkkwarehouse
https://lin.ee/5CuTpWq