previous arrow
next arrow
Slider

4 มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องรู้

ไคเซ็น คือ อะไร (What is Kaizen) ?
ไคเซ็น คืออะไร ช่วยประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น
ตุลาคม 6, 2023
boi คืออะไร ให้สิทธิและประโยชน์การลงทุนในกิจการอะไรบ้าง
boi คืออะไร ให้สิทธิและประโยชน์การลงทุนในกิจการอะไรบ้าง
ตุลาคม 10, 2023
4 มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องรู้

4 มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องรู้

4 มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน อุตสาหกรรม ที่ต้องรู้

มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน อุตสาหกรรมมีความสำคัญมากเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับการป้องกันอุบัติเหตุ ความรุนแรงและความเสี่ยงต่างๆ ในการทำงาน มาตรฐานเหล่านี้มักถูกกำหนดโดยหน่วยงานรัฐบาล หรือองค์กรมาตรฐานอิสระและองค์การอื่นๆ มีกระบวนการที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละประเทศและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม มีหลายมาตรฐานที่มักถูกนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน บทความนี้เราจะมาบอกวิธีปฎิบัติเพื่อความความปลอดภัยในโรงงาน ที่ทุกคนก็สามารทำได้โดยง่ายๆ มาอ่านข้อมูลไปพร้อมๆกันได้เลย

 

เลือกอ่าน 4 ด้านมาตรฐานความปลอดภัย

 

4 ด้าน มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน สิ่งที่ผู้ประกอบการควรรู้

 

มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน ด้านความร้อน

1. มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน ด้านความร้อน

สภาพความร้อนและอุณหภูมิภายในโรงงาน

มาตรฐานความร้อนหมายถึงเกณฑ์และข้อกำหนดที่ใช้ในการจัดการความปลอดภัยและประสิทธิภาพในสถานที่ทำงานที่มีความร้อนสูงหรือความร้อนเฉพาะอย่างสม่ำเสมอ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความร้อนสูงสามารถเป็นอันตรายและมีความเสี่ยงสูงแก่ความปลอดภัยของพนักงานและสถานที่ทำงาน โดยมาตรฐานนี้ระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยของการทำงานในบริเวณที่มีความเสี่ยงจากกระแสไฟฟ้า หรือ ความร้อน จากเตาหลอม เตาอบ ต่างๆ ภายในโรงงาน และรวมถึงการป้องกันอุบัติเหตุพนักงาน เมื่อมีการปฎิบัติงานในสถานที่ที่มีความร้อนในอุณหภูมิที่สูง ควรปฏิบัติสวมเครื่องมือป้องกันดังต่อนี้เพื่อความปลอดภัยที่ดีต่อร่างกาย

ใส่ถุงมือป้องกันความร้อนทนอุณหภูมิสูง (Hand Protection Equipment)  : ช่วยป้องกันมือจากความร้อนและอุณหภูมิสูงในการทำงาน “พนักงานที่ทำงานในโรงงานที่มีความร้อนสูงต้องสวมถุงมือกันความร้อนเพื่อป้องกันความบาดเจ็บขณะที่สัมผัสวัสดุที่มีความร้อน

ใส่รองเท้าป้องกันความร้อน (Safety Shoes)  : ในงานอุตสาหกรรมเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันความบาดเจ็บจากความร้อนและสภาพแวดล้อมที่อันตรายในสถานที่ทำงาน รองเท้าป้องกันความร้อนมักมีลักษณะพิเศษเพื่อรับมือกับงานอุณหภูมิสูงและสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง รูปแบบและวัสดุของรองเท้ามักเป็นไปตามลักษณะงาน คุณควรเลือกรองเท้าป้องกันที่เหมาะสมสำหรับงานของคุณและปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตเพื่อความปลอดภัยของในสถานที่ทำงานที่มีความร้อนสูง

ใส่ชุดป้องกันความร้อน (Body Protection Equipment) : การใส่ชุดป้องกันความร้อนเป็นสิ่งสำคัญเมื่อทำงานในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ในงานอุตสาหกรรมหรืองานก่อสร้างที่ต้องใช้อุปกรณ์ที่มีกระแสไฟต่างๆในการทำงาน ชุดป้องกันความร้อนมักประกอบด้วยหลายชิ้นส่วน รวมถึงเสื้อคลุม, กางเกง, ถุงเท้า, และหมวกป้องกันความร้อน เพื่อป้องกันร่างกายจากความร้อนและอันตรายจากสิ่งของที่มีอุณหภูมิสูง ข้อควรระวังก่อนที่คุณจะใส่ชุดป้องกันความร้อน ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าชุดป้องกันไม่มีรอยเสียหาย หรือชำรุดใดๆ หากพบเจอให้เปลี่ยนไปใส่ชุดใหม่ทันทีก่อนปฎิบัติงาน 

** ในกรณี หากต้องปฏิบัติเกี่ยวกับงาน ที่มีความร้อนสูงมาก เช่น ในอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานเตาหลอมโลหะ, การเชื่อม, หรืองานแร่ขนาดใหญ่ที่ต้องทนต่ออุณหภูมิสูง.   ควรสวมชุดป้องกันร่างกายที่ผลิตจากอะลูมิไนซ์ช่วยสะท้อนรังสี หรือ เรียกอีกอย่างว่า ชุดหมีอลูมิไนซ์ (Aluminized Suit) เป็นชุดป้องกันความร้อนที่ผลิตจากวัสดุอลูมิเนียมบางและเคลือบด้วยชั้นผิวแข็งขึ้น เช่น แอลูมิเนียมโฟยสิลิเรต ซึ่งมีความสามารถในการทนความร้อนและรังสีความร้อนได้ดี ป้องกันอุณหภูมิได้สูงถึง 1,000 องศา ** 

 

มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน ด้านแสงสว่าง

2. มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน ด้านแสงสว่าง

ค่าความเข้มข้นของแสงมักถูกวัดเป็นหน่วย Lux (ลักซ์) ซึ่งหมายถึง 1 ลักซ์เท่ากับการได้รับแสงแรงเท่ากับ 1 ลูเมนต์ (lumen) บนพื้นที่ขนาด 1 ตารางเมตร (m²) โดยมีสูตรคำนวณความเข้มข้นของแสงคือ

 

สูตรการคำนวณความเข้มข้นของแสง

ความเข้มข้นของแสง (Lux) = จำนวนลูเมนต์ (Lumen) / พื้นที่ (ตารางเมตร)

 

ยกตัวอย่างเช่น

  • หากคุณมีหลอดไฟหนึ่งที่ส่องแสงออกมาและมีค่า Lumen เท่ากับ 800 ลูเมนต์ และมันส่องแสงบนพื้นที่ขนาด 4 ตารางเมตร ความเข้มข้นของแสงในบริเวณนั้นจะเท่ากับ : ความเข้มข้นของแสง (Lux) = 800 Lumen / 4 ตารางเมตร = 200 Lux
  • หากคุณมีหลอดไฟหนึ่งที่ส่องแสงออกมาและมีค่า Lumen เท่ากับ 1000 ลูเมนต์ และมันส่องแสงบนพื้นที่ขนาด 2 ตารางเมตร ความเข้มข้นของแสงในบริเวณนั้นจะเท่ากับ : ความเข้มข้นของแสง (Lux) = 1000 Lumen / 2 ตารางเมตร = 500 Lux

 

ค่าความเข้มข้นของแสงในโรงงานจะขึ้นกับประเภทของงานและสถานที่ที่เป็นที่ตั้งของโรงงานเอง แต่มีค่าเฉลี่ยที่สามารถใช้เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์เมื่อพิจารณาความเข้มข้นของแสงธรรมชาติในสถานที่ทำงานและที่มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการทำงานได้ดังนี้

 

  1. ความเข้มข้นแสงตามมาตรฐานภายนอกโรงงาน : ความเข้มข้นแสงอาจต้องสูงกว่า 20 Lux สำหรับบริเวณภายนอกพื้นที่ถนนหน้าโรงงานอุตสาหกรรม
  2. ความเข้มข้นแสงตามมาตรฐานภายในโรงงาน : ความเข้มข้นแสงอาจต้องสูงกว่า 50 Lux สำหรับบริเวณภายในสถานที่ปฎิบัติงานในจุดต่างๆที่ต้องใช้แสงสว่าง อย่างเช่น โกดัง คลังสินค้า บันไดขึ้นลงของพนักงาน สถานที่เหล่านี้ควรมีการติดตั้งแสงไฟไว้ เพื่อสะดวกต่อการ การขนย้าย การบรรจุ  การจัดเก็บสินค้า ไม่เกิดความลำบากต่อผู้ที่กำลังปฎบัติงานตรงนี้ด้วย
  3. ความเข้มข้นแสงตามมาตรฐานการผลิต (ความละเอียดเล็กน้อย) : ความเข้มข้นแสงอาจต้องสูงกว่า 100 Lux เพราะจุดนี้พนักงานต้องใช้ความละเอียดเล็กน้อยจากแสงไฟในการผลิตผลงาน เช่น การประกอบชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ที่ไม่ซับซ้อน และ การสีข้าว เป็นต้น
  4. ความเข้มข้นแสงตามมาตรฐานการผลิต (ความละเอียดปานกลาง) : ความเข้มข้นแสงอาจต้องสูงกว่า 200 Lux เพราะจุดนี้พนักงานต้องใช้ความละเอียดในระดับปานกลางจากแสงไฟในการผลิตผลงาน เช่น การทำงานเย็บปักถักร้อย ที่ต้องใช้สายตาในการเพ่งเล็ง เย็บเสื้อผ้า เย็นกระเป๋าสตางค์หนัง เป็นต้น
  5. ความเข้มข้นแสงตามมาตรฐานการผลิต (ความละเอียดสูง) : ความเข้มข้นแสงอาจต้องสูงกว่า 300 Lux เพราะจุดนี้พนักงานต้องใช้ความละเอียดในระดับสูงจากแสงไฟในการผลิตผลงาน เช่น การทดสอบและการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ การซ่อมแซมเครื่องจักร หรือการกลึงแต่งโลหะ
  6. ความเข้มข้นแสงตามมาตรฐานการผลิต (ความละเอียดสูงพิเศษ) : ความเข้มข้นแสงอาจต้องสูงกว่า 1,000 Lux เพราะจุดนี้พนักงานต้องใช้ความละเอียดในระดับสูงพิเศษจากแสงไฟในการผลิตผลงาน เพื่อให้มีการมองเห็นรายละเอียดชิ้นงานได้อย่างชัดเจน เช่น การเจียระไนเพชร พลอย การผลิตชิปเซ็ตต่างๆที่ต้องใช้กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เนื่องจากความคลาดเคลื่อนแค่เล็กน้อย ก็อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลงานหรือความปลอดภัยของคนงานได้ 

ความเข้มข้นของแสงมีผลต่อการทำงาน, สุขภาพ, และความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน การใช้แสงสว่างที่เหมาะสมสามารถช่วยลดความเมื่อยล้าและความเครียดในการทำงานของพนักงงานได้เป็นอย่างดี เมื่อมีการปฎิบัติงานในสถานที่ที่มีความแสงสว่างที่มีค่า ความเข้มข้นของแสงสูง ทางที่ดีที่สุดควรสวมเครื่องมือป้องกันดังต่อนี้เพื่อความปลอดภัยที่ดีต่อสายตาของคุณ

แว่นตานิรภัย (Protective spectacles or glasses) :  เป็นอุปกรณ์ป้องกันสายตาที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน เหตุการณ์เช่นการเคลื่อนไหวของวัตถุขึ้นและกระทบกับตาหรือการสะเก็ดของสารเคมีอันอาจกระเด็นกลับมาสู่ตา เป็นต้น ดังนั้น แว่นตานิรภัยมีความสำคัญในการปกป้องสายตาของคนงานเป็นอย่างมาก แว่นตานิรภัยที่ดีและมีคุณภาพ ส่วนใหญ่จะถูกผลิตจากวัสดุที่ทนทานและป้องกันสายตาได้ดี เช่น พลาสติกที่แข็งแรงหรือโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate) ซึ่งเป็นวัสดุที่แข็งแรงและทนต่อการกระทบหรือแตกหัก ส่วนเลนส์ตานี่เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการป้องกันสิ่งที่มากระทบกับดวงตาในขณะทำงานและแสงสว่างต่างๆ แว่นตานิรภัยที่มีคุณภาพ มักมีเลนส์ที่มีคุณสมบัติที่รับแสงแดด (UV protection) หรือป้องกันรังสีแสงสะท้อน (anti-reflective coating) ได้ตามความต้องการของแต่ละงานมีหลายประเภทซึ่งมีความแตกต่างกันของสีเลนส์ตาตามความเหมาะสม อย่างเช่น เลนส์สีเทา จะใช้ภายนอกอาคารเพื่อป้องกันแสงสว่างจากดวงอาทิตย์เพื่อให้มองเห็นได้ชัด และสีไม่ผิดเพี้ยน เลนส์ใส แบบมีการเคลือบแสงสะท้อนแบบบางใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร จะช่วยลดแสงสะท้อนจากแสงไฟที่มาจากหลอดไฟในอาคาร ได้เป็นอย่างดี จะมี เลนส์สีทอง สีน้ำเงิน และสีเงิน แบบมีการเคลือบการสะท้อนแสง สำหรับงานภายนอก การเลือกแว่นตานิรภัยที่เหมาะสมและมีคุณภาพสามารถช่วยป้องกันอันตรายต่อสายตาและสุขภาพของคนงานในสถานที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

3. มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน ด้านเสียง

3. มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน ด้านเสียง

มาตรฐานเสียงในโรงงานอุตสาหกรรมมักถูกแบ่งเป็นระดับต่างๆ โดยปกติจะมีค่าไม่เกิน 140 เดซิเบล เพื่อให้มีการควบคุมและป้องกันความเสียหายที่แก้วหูของคนจะรับได้จากเสียงที่สูงเกินไปต่อคนงานในสถานที่ทำงาน ระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของงานและสถานที่ทำงาน ซึ่งการแบ่งระดับเสียงตามจำนวนชั่วโมงการทำงานมักจะเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมเสียงเพื่อป้องกันความสูญเสียในการได้ยินและความปลอดภัยของคนงานในระยะยาว โดยทั่วไปแล้วระดับเสียงในโรงงานอุตสาหกรรมถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับหลักดังนี้

 

  1. ระดับเสียงนานเท่ากับหรือต่ำกว่า 91 เดซิเบล (dB) ในช่วงทำงาน 7 ชั่วโมงต่อวัน : ระดับเสียงที่ถือว่าเสี่ยงต่อความสูญเสียในการได้ยิน ในกรณีนี้มาตรการป้องกันความเสียหายจากเสียงจำเป็นต้องใช้ตลอดเวลาในระหว่างการทำงาน อาจมีการใช้อุปกรณ์หูฟังกันเสียงที่เป็นตัวช่วยความลดเสียงช่วยในการทำงานได้เป็นอย่างดี
  2. ระดับเสียงนานเท่ากับหรือต่ำกว่า 90 เดซิเบล (dB) ในช่วงทำงาน 7-8 ชั่วโมงต่อวัน : ระดับเสียงนี้มีความเสี่ยงต่อความสูญเสียในการได้ยินอย่างมาก มาตรการป้องกันความเสียหายจากเสียงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงและป้องกันความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้หูฟังกันเสียงสูงแบบพิเศษ, การลดเสียงจากแหล่งที่มาของเสียง เพื่อให้ระดับเสียงลดลง
  3. ระดับเสียงนานเท่ากับหรือต่ำกว่า 80 เดซิเบล (dB) ในช่วงทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน : ถือว่าเป็นระดับเสียงที่สามารถยอมรับได้ในการทำงานและมักไม่ถือเป็นเสี่ยงต่อความสูญเสียในการได้ยินในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การควบคุมและป้องกันเสียงในระดับนี้ก็ยังมีความสำคัญ เพื่อรักษาความสุขภาพทางหูของคุณ และเพื่อลดความเสี่ยงในระยะยาวหากมีการสูญเสียในการได้ยินในระดับต่ำนี้ เนื่องจากการได้ยินเสียงของคนเราอาจแตกต่างกันออกไป ทางที่ดี ควรใช้อุปกรณ์หูฟังกันเสียงที่เป็นตัวช่วยลดเสียงจะส่งผลดีที่สุดในการทำงาน

บางครั้งพนักงานอาจต้องปฏิบัติงานในสถานที่ที่มีเสียงดัง โดยเฉพาะในงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรหรือเครื่องจักรที่สร้างเสียงมาก เช่น โรงงานอุตสาหกรรม, โรงงานผลิต, หรือสถานที่ก่อสร้าง ในกรณีเช่นนี้การป้องกันความสูญเสียในการได้ยินและการรักษาสุขภาพของคนงานเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเสียงดังมากและมีความเสี่ยงสูงต่อความสูญเสียในการได้ยิน ดังนั้น ควรมีอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันเสียงที่เหมาะสมในสถานที่ทำงานแบบนี้ เพื่อรักษาความสุขภาพและปลอดภัยของคนงาน โดยอุปกรณ์ จะมีลักษณะอยู่ 2 ชนิด ดังนี้

ที่ครอบหู (Ear muff) : เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ใส่บนหูทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้องกันความสูญเสียในการได้ยินจากเสียงรบกวนหรือเสียงดังในสถานที่ทำงานหรือสถานที่ที่มีระดับเสียงสูง เป็นสิ่งที่ช่วยลดระดับเสียงที่เข้าสู่หูของคนงาน ได้ถึง 40 เดซิเบล(dB) ที่ครอบถูกออกแบบให้มีชั้นลดเสียงภายในที่ปิดครอบรอบหูและมีฟองอากาศเพื่อสร้างความนุ่มและความสบายต่อผู้สวมใส่และยังช่วยให้เสียงสั่นสะเทือนถูกลดลงอย่างมีประสิทธิภาพได้อีกด้วย ที่ครอบหูมักถูกนำมาใช้ในงานและสถานที่ที่มีระดับเสียงสูงเช่น โรงงานอุตสาหกรรม, โรงงานผลิต, งานก่อสร้าง, และการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรหรือเครื่องมือที่สร้างเสียงดังมาก เพื่อป้องกันความสูญเสียในการได้ยินและรักษาความปลอดภัยของคนงานที่ต้องปฏิบัติงานในสถานที่ที่มีเสียงดัง

ที่อุดหู (Ear plug) : เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ใส่ลงในหูทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้องกันความสูญเสียในการได้ยินจากเสียงรบกวนหรือเสียงดังในสถานที่ทำงาน ช่วยลดระดับเสียงได้ถึง 20 เดซิเบล(dB) ลักษณะการใช้งานเหมือนกับที่ครอบหู (Ear muff) แต่ที่อุดหูจะมีลักษณะเป็นแบบที่สวมใส่เข้าไปในในช่องของรูหูโดยตรง อุปกรณ์นี้มักถูกทำจากวัสดุที่อ่อนนุ่ม เช่น ยางซิลิโคนหรือเอวส์โพรเปน และมีรูรับเสียงสำหรับให้ผ่านเสียงสัญญาณเช่น เสียงสั่งงานหรือสัญญาณเตือนในสถานที่ทำงาน ที่อุดหูมักถูกนำมาใช้ในสถานที่ที่มีระดับเสียงสูงเช่น โรงงานอุตสาหกรรม, โรงงานผลิต, งานก่อสร้าง, เพื่อป้องกันความสูญเสียในการได้ยินและรักษาความปลอดภัยของคนงานที่ต้องปฏิบัติงานในสถานที่ที่มีเสียงดัง

 

มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน ด้านสารเคมีและอนุภาคที่มีความเสี่ยง

4. มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน ด้านสารเคมีและอนุภาคที่มีความเสี่ยง

มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีและอนุภาคที่มีความเสี่ยงคือกฎหมายหรือระเบียบที่กำหนดมาเพื่อควบคุมการจัดการและใช้งานสารเคมีและอนุภาคที่มีความเสี่ยงในสถานที่ทำงาน มาตรฐานเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ โดยมีการระบุปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีตามสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติ เช่น อากาศภายในโรงงานอุตสาหกรรม, ระยะเวลาในการทำงาน, บริเวณที่ปฏิบัติงาน และปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นและแร่ที่มีการปนเปื้อนในอากาศ โดยปริมาณความเข้มข้นของสารเคมี ฝุ่นและแร่จะต้องมีความเข้มข้นไม่เกินกว่าค่ามาตรฐานกำหนดและผู้ประกอบการก็ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการใช้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีสารเคมี ฝุ่น แร่ หรืออนุภาค มีขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอน ที่มีอันตราย เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพและร่างกายของพนักงาน ด้วยอุปกรณ์ตามนี้

ใส่ชุดป้องกันกรดสารเคมี (Chemical Protective Suit) : ชุดป้องกันสารเคมีมักถูกใช้ในสถานที่ทำงานที่มีการประกอบการที่ใช้สารเคมีอันตราย เช่น ในอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมน้ำมัน หรือการจัดการกับสารเคมีในสถานที่ทำงานอื่นๆ เพื่อป้องกันการสัมผัสและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากสารเคมีและอนุภาคที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เป็นชุดที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันอันตรายจากการโดนสารเคมีสัมผัสผิวหนังหรือระบบการหายใจ ชุดป้องกันสารเคมีมักมีส่วนประกอบหลายชิ้นที่รวมกันเพื่อป้องกันโดยครอบคลุมทั้งร่างกาย

หน้ากากป้องกันสารเคมี (Chemical Respirator) : คืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการหายใจ เนื่องจากสารเคมีเป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อมนุษย์อย่างมาก เมื่อถูกสูดอากาศเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นหน้ากากป้องกันสารเคมี มีไว้เพื่อกรองและกั้นสารและอนุภาคขนาดต่างๆไม่ให้เข้ามาได้ช่วยป้องกันการสูดดมสารเคมีอันตรายที่อาจอยู่ในอากาศที่เรามองไม่เห็น สารเคมีอันตรายที่อาจเกิดจากการสูดดมมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น กลิ่นรบกวน, ไอระเบิด, ฝุ่นละออง, และอื่น ๆ เพื่อให้หน้ากากมีประสิทธิภาพในการป้องกันการสูดดมสารเคมีและอนุภาค ควรใส่ให้สนิทและปิดหน้าให้มิดชิดอย่างสมบูรณ์ จะมีทั้งแบบครอบเต็มหน้า ครึ่งหน้า แบบไส้กรองเดี่ยวหรือไส้กรองคู่ แบบใช้แล้วทิ้ง หรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ บางรุ่นจะมีวาล์วระบาย อากาศ และบางรุ่นที่เป็นไส้กรองสามารถเปลี่ยนไส้กรองได้ และต้องเลือกหน้ากากที่เหมาะสมกับหน้างานและสภาพแวดล้อมที่ทำงานด้วย อีกทั้งต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและความปลอดภัยในการใส่และดูแลรักษาหน้ากากป้องกันสารเคมีเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในสถานที่ทำงานของคุณ 

 

สรุป  มาตรฐานความปลอดภัยในโรงงาน สิ่งที่ประกอบการต้องรู้ จะต้องปฏิบัติตามหลัก 4 ด้าน เป็นสิ่งสำคัญเพื่อรักษาความปลอดภัยและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงานและสิ่งแวดล้อมต่างๆได้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลักการที่กล่าวมาทั้งหมดมีบทบาทสำคัญในการสร้างสังคมที่มีความปลอดภัยและทุกคนสามารถนำไปใช้ได้ในการทำงาน และยังช่วยส่งผลดีให้กับองค์กรในด้านเรื่องผลผลิต เพราะจะช่วยลดระยะเวลาหยุดเครื่องจักรในการทำงาน เพื่อแก้ไขปัญหาความปลอดภัย ทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้นและรายได้ไม่หยุดชะงัก สิ่งสำคัญที่องค์กรควรจะคำนึงถึงความปลอดภัยของพนักงานทุกคน คือ จัดการฝึกซ้อม การฝึกอบรม และการซื้ออุปกรณ์ป้องกันให้กับพนักงาน เนื่องจากสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุและความเสียหายได้ อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวและธุรกิจมีการเติบโตไปในทิศทางที่ดีขึ้น 

เช่าโกดังสินค้า กับ BKK WAREHOUSE

ในราคาถูก (รวมภาษีแล้ว)

หากท่านกำลังมองหาโกดังให้เช่า หรือต้องการเช่าโกดังในทำเลดีเยี่ยม ราคาถูกรวมภาษีแล้ว ที่จะสามารถช่วยให้ธุรกิจของประหยัดต้นทุน โครงการ bkkwarehouse ขอแนะนำ

เช่าโกดังสินค้า  bkkwarehouse

โกดังเก็บของ เก็บสินค้า ให้เช่าในราคาถูก  ราคารวมภาษีทุกอย่าง

ทำให้สามารถลดต้นทุนของลูกค้าได้ ที่สำคัญโกดังให้เช่า  ตั้งอยู่ในทำเลทอง !!!

ติดต่อเรา

หรือสนใจสอบถาม  โกดังเก็บสินค้าของ  bkkwarehouse
โทร 089 768 5205

LINE ID : @bkkwarehouse

https://lin.ee/5CuTpWq

คิวอาร์โค้ด บีเคเค

ทำไมต้อง เช่าโกดังสินค้า กับ BKK WAREHOUSE ดีอย่างไร ?

เช่าคลังสินค้าสำโรง ใต้5 ราคาเช่าถูก รวมภาษี

คลังสินค้าให้เช่า ราคาถูก
(รวมภาษีแล้ว)

โกดังเก็บสินค้า ของ BKK WAREHOUSE ทุกโครงการ ไม่มีเก็บภาษีเพิ่มเติม ช่วยประหยัดต้นทุนต่อธุรกิจของคุณลูกค้า

เช่าคลังสินค้าสำโรง ใต้5 บริการซ่อมแซม คลังสินค้า

มีบริการซ่อมแซมคลังสินค้า

ทาง BKK WAREHOUSE มีทีมงาน พร้อมซ่อมแซมภายในโครงการจากช่างที่มีประสบการณ์ 

เช่าคลังสินค้า บางนา กม 22 มีพื้นที่ใช้สอยกว้าง

คลังสินค้าให้เช่า มีพื้นที่ใช้สอยกว้าง สะดวกต่อการขนส่ง

พื้นที่ภายในโกดังเก็บของให้เช่า กว้างขวาง เหมาะการทำโกดังเก็บของ หรือเก็บสินค้าได้ และมีพื้นที่จอดรถ

เช่าคลังสินค้าบางนา กม 22 ทำเลทองดีเยี่ยม

โกดังให้เช่า ทำเลทองดีเยี่ยม ใจกลางสมุทรปราการ

โกดังเก็บของให้เช่า ของเราอยู่ศูนย์กลางแห่งการคมนาคม ติดริมถนน บางนา-ตราด ใกล้วงแหวนตะวันออกทางออกสุขุมวิท ใกล้ทางด่วนมอเตอร์เวย์ สนามบินสุวรรณภูมิใกล้กรุงเทพฯ  ไม่ไกลจากท่าเรือ ประตูสู่ EEC 

เช่าคลังสินค้า เลือกตามที่ตั้งได้หลายขนาด

โกดังเก็บสินค้า มีให้เลือกเช่าหลายขนาด เพื่อรองรับหลากหลายธุรกิจ

สามารถเลือก โกดังเก็บสินค้าได้ตามที่ตั้ง ขนาด และฟังก์ชั่นการใช้งานที่เหมาะสมกับธุรกิจของท่านตามความเหมาะสม

เช่าคลังสินค้า มีบริการ Customer service พร้อมดูแล

คลังสินค้าให้เช่า มีทีมงาน Customer Service พร้อมให้บริการดูแล

มีทีมงาน BKK Customer Service พร้อมบริการให้คำปรึกษาลูกค้าในด้านต่างๆระหว่างการเช่า

Top